มีชายคนหนึ่งพร้อมกับเพื่อน ไปนั่งรอรถไฟที่สถานี รถจะมาถึงเวลาบ่ายโมงชายคนนั้นก็บอกให้เพื่อนไปดูนาฬิกาที่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานีว่า บ่ายโมงแล้วหรือยังเพื่อนก็วิ่งไปดู แล้วก็กลับมาบอกว่า "เที่ยง...ยังไม่บ่าย" ทั้งสองก็นั่งรอรถกันต่อไปนั่งรอกันอยู่พักใหญ่ ก็บอกให้เพื่อนวิ่งไปดูนาฬิกาอีกที ว่าบ่ายโมงหรือยังเพื่อนก็วิ่งไปดูอีก แล้วก็กลับมาบอกว่า "เที่ยง...ยังไม่บ่าย"ก็นั่งรอรถกันอีก จนกระทั่งตะวันคล้อยไปแล้ว ก็บอกให้เพื่อนวิ่งไปดูนาฬิกาอีกสักทีเพื่อนก็วิ่งไปดู แล้วก็กลับมาบอกว่า "เที่ยง...ยังไม่บ่าย" เหมือนเดิมชายคนนั้นก็เกิดความสงสัย จึงพูดกับเพื่อนว่า "ไหน นาฬิกาที่เอ็งวิ่งไปดูมันอยู่ตรงไหน"เพื่อนก็พาไปดูพร้อมกับชี้บอกว่า "นี่ไงล่ะ"ชายคนนั้นหัวเราะไม่ออกจึงพูดออกมาว่า"โธ่เอ๋ย! นั่นมันเครื่องชั่งน้ำหนักต่างหาก ไม่ใช่นาฬิกา เอ็งเข้าใจผิดไปแล้ว"
ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้การใช้คนโง่เขลาเบาปัญญาไปทำสิ่งใด อาจทำให้เกิดความเสียหาย ฉะนั้นพึงระมัดระวังในการใช้คน
วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551
เพลงเช้าวันสดใส
เด็ก เด็กจ๋า 6โมงเช้าตื่นนอนหรือยัง...(เด็กตอบ)..
ถ้าหากยังรีบตื่นมาล้างหน้าแปรงฟัน
7โมงเช้าท่านข้าวกันหรือยัง...(เด็กตอบ)...
ถ้าหากยังรีบไปทานเดี๋ยวจะไม่โต โต๊ โต
แต่งโดย พงศ์ศิริ พุทธโสม
ทำนอง พงศ์ศิริ พุทธโสม
คำร้อง พงศ์ศิริ พุทธโสม
ถ้าหากยังรีบตื่นมาล้างหน้าแปรงฟัน
7โมงเช้าท่านข้าวกันหรือยัง...(เด็กตอบ)...
ถ้าหากยังรีบไปทานเดี๋ยวจะไม่โต โต๊ โต
แต่งโดย พงศ์ศิริ พุทธโสม
ทำนอง พงศ์ศิริ พุทธโสม
คำร้อง พงศ์ศิริ พุทธโสม
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
มิติสัมพันธ์
ทักษะสำคัญของลูกวัย 1-3 ปี ความหมายของมิติสัมพันธ์
มิติสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เมื่อเทียบกับตำแหน่งหรือจุดอ้างอิงจุดใดจุดหนึ่ง เช่น หากใช้ตัวลูกเป็นหลัก สิ่งที่อยู่รอบตัวลูกก็จะมีตำแหน่ง เช่นหน้า หลัง บน ล้าง ซ้าย ขวา เป็นต้น
คนที่มีทักษะด้านมิติสัมพันธ์ จะมีความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ที่ว่าง สถานที่และเวลา สามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ และสามารถวาดมโนภาพของความเชื่อมโยงให้เกิดขึ้นในใจ และถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นรับรู้เป็นรูปธรรม หรือมีความสามารถในการมองเห็นพื้นที่ มองสิ่งตางๆ ได้ในมิติที่หลากหลาย และรวดเร็ว
มิติสัมพันธ์ยังเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเราตั้งแต่ตื่นนอน เช่น ตื่นนอนเราต้องลงจากเตียงทางด้านซ้ายมือ เพราะด้านขวามือติดผนัง เดินออกไปทางด้านหน้าเพื่ออกทางประตู เปิดประตูเข้าห้องน้ำ หยิบแปรงสีฟันที่อยู่บนอ่างล้างหน้าของตัวเอง การแต่งตัว การใส่เสื้อผ้า เป็นต้น เหล่านี้ล้วนอาศัยความรู้ด้านมิติสัมพันธ์ทั้งสิ้น
มิติสัมพันธ์กับทักษะอื่นๆ
ลูกน้อยจะมีทักษะด้านมิติสัมพันธ์ดี ต้องอาศัยองประกอบจากทักษะด้านอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ การมองเห็น ความจำ การวิเคราะห์ การเคลื่อนไหว การกะระยะ
รวมถึงระบบต่างๆของร่างกายก็ต้องมีการทำงานที่พร้อมไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ และการทำงานของสายตาที่ประสานกัน เป็นต้น
ในวัย 1-3 ขวบของลูกนั้น ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กำลังก่อเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อลูกอายุ 4-5 ปี จึงจะเริ่มเข้าใจในมิติสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น เข้าใจว่า บนโต๊ะ ใต้โต๊ะ ด้านหน้า ด้านหลัง ซ้ายและขวาคืออะไร โดยจะเชี่ยวชาญมากขึ้น หรือมีทักษะมากขึนตามประสบการณ์ที่ได้รับจากการเลี้ยงดูและเติบโตไปตามวัย
มิติสัมพันธ์ ส่งเสริมได้ในชีวิตประจำวัน
ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเข้านอน คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมทักษะด้านมิติสัมพันธ์ให้ลูกได้ด้วยการให้ลูกได้ช่วยเหลือตนเองตามพัฒนาการที่เหมาะสมของวัย เช่น กินข้าว กินน้ำอาบน้ำ แต่งตัว เป็นต้น หรือสอดแทรกในกิจกรรมที่ลูกกำลังทำด้วยการพูดคุยกับลูก เช่น ในระหว่างที่ลูกกำลังกินอาหารก็ควรพูดกับลูกว่า
"พ่อวางแก้วน้ำไว้ด้านขวามือของหนู"
"หนูจับช้อนด้วยมือขวา จับช้อนด้วยมือซ้าย"
"ถ้าจะให้สะดวกเวลาดื่มน้ำ หนูลองเอื้อมมือขวามาหยิบแก้วน้ำที่อยู้ด้านขวามือสิจ๊ะ"
นอกจากจะเป็นการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเอง ฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝ฿กการทำงานที่ประสานกันระหว่างสายตาและมือ ยังเป็นการเรียนรู้ด้านมิติสัมพันธ์ไปด้วย
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถส่งเสริมด้วยการชี้ชวนให้ลูกสังเกตเห็นสิ่งที่อยู่รอบตัว เช่น ถ้าลูกสนใจ "รถ" ของคุณพ่อที่จอดอยู่หน้าบ้าน ให้ชวนลูกไปดูรถ โดยพูดดังนี้ค่ะ
"เราไปดูด้านหน้ารถกัน"
"ไหนลองไปดูด้านข้างสิ"
"ไปดูด้านหลังรถด้วย"
"ลองดูทะแยงสิ"
แบบนี้จะเป็นการพัฒนาสมองส่วนที่ควบคุมทางด้านมิติสัมพันธ์ และมิติการมองเห็นไปพร้อมๆกัน
มิติสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เมื่อเทียบกับตำแหน่งหรือจุดอ้างอิงจุดใดจุดหนึ่ง เช่น หากใช้ตัวลูกเป็นหลัก สิ่งที่อยู่รอบตัวลูกก็จะมีตำแหน่ง เช่นหน้า หลัง บน ล้าง ซ้าย ขวา เป็นต้น
คนที่มีทักษะด้านมิติสัมพันธ์ จะมีความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ที่ว่าง สถานที่และเวลา สามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ และสามารถวาดมโนภาพของความเชื่อมโยงให้เกิดขึ้นในใจ และถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นรับรู้เป็นรูปธรรม หรือมีความสามารถในการมองเห็นพื้นที่ มองสิ่งตางๆ ได้ในมิติที่หลากหลาย และรวดเร็ว
มิติสัมพันธ์ยังเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเราตั้งแต่ตื่นนอน เช่น ตื่นนอนเราต้องลงจากเตียงทางด้านซ้ายมือ เพราะด้านขวามือติดผนัง เดินออกไปทางด้านหน้าเพื่ออกทางประตู เปิดประตูเข้าห้องน้ำ หยิบแปรงสีฟันที่อยู่บนอ่างล้างหน้าของตัวเอง การแต่งตัว การใส่เสื้อผ้า เป็นต้น เหล่านี้ล้วนอาศัยความรู้ด้านมิติสัมพันธ์ทั้งสิ้น
มิติสัมพันธ์กับทักษะอื่นๆ
ลูกน้อยจะมีทักษะด้านมิติสัมพันธ์ดี ต้องอาศัยองประกอบจากทักษะด้านอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ การมองเห็น ความจำ การวิเคราะห์ การเคลื่อนไหว การกะระยะ
รวมถึงระบบต่างๆของร่างกายก็ต้องมีการทำงานที่พร้อมไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ และการทำงานของสายตาที่ประสานกัน เป็นต้น
ในวัย 1-3 ขวบของลูกนั้น ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กำลังก่อเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อลูกอายุ 4-5 ปี จึงจะเริ่มเข้าใจในมิติสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น เข้าใจว่า บนโต๊ะ ใต้โต๊ะ ด้านหน้า ด้านหลัง ซ้ายและขวาคืออะไร โดยจะเชี่ยวชาญมากขึ้น หรือมีทักษะมากขึนตามประสบการณ์ที่ได้รับจากการเลี้ยงดูและเติบโตไปตามวัย
มิติสัมพันธ์ ส่งเสริมได้ในชีวิตประจำวัน
ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเข้านอน คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมทักษะด้านมิติสัมพันธ์ให้ลูกได้ด้วยการให้ลูกได้ช่วยเหลือตนเองตามพัฒนาการที่เหมาะสมของวัย เช่น กินข้าว กินน้ำอาบน้ำ แต่งตัว เป็นต้น หรือสอดแทรกในกิจกรรมที่ลูกกำลังทำด้วยการพูดคุยกับลูก เช่น ในระหว่างที่ลูกกำลังกินอาหารก็ควรพูดกับลูกว่า
"พ่อวางแก้วน้ำไว้ด้านขวามือของหนู"
"หนูจับช้อนด้วยมือขวา จับช้อนด้วยมือซ้าย"
"ถ้าจะให้สะดวกเวลาดื่มน้ำ หนูลองเอื้อมมือขวามาหยิบแก้วน้ำที่อยู้ด้านขวามือสิจ๊ะ"
นอกจากจะเป็นการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเอง ฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝ฿กการทำงานที่ประสานกันระหว่างสายตาและมือ ยังเป็นการเรียนรู้ด้านมิติสัมพันธ์ไปด้วย
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถส่งเสริมด้วยการชี้ชวนให้ลูกสังเกตเห็นสิ่งที่อยู่รอบตัว เช่น ถ้าลูกสนใจ "รถ" ของคุณพ่อที่จอดอยู่หน้าบ้าน ให้ชวนลูกไปดูรถ โดยพูดดังนี้ค่ะ
"เราไปดูด้านหน้ารถกัน"
"ไหนลองไปดูด้านข้างสิ"
"ไปดูด้านหลังรถด้วย"
"ลองดูทะแยงสิ"
แบบนี้จะเป็นการพัฒนาสมองส่วนที่ควบคุมทางด้านมิติสัมพันธ์ และมิติการมองเห็นไปพร้อมๆกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)