วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

มิติสัมพันธ์



ทักษะสำคัญของลูกวัย 1-3 ปี ความหมายของมิติสัมพันธ์
มิติสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เมื่อเทียบกับตำแหน่งหรือจุดอ้างอิงจุดใดจุดหนึ่ง เช่น หากใช้ตัวลูกเป็นหลัก สิ่งที่อยู่รอบตัวลูกก็จะมีตำแหน่ง เช่นหน้า หลัง บน ล้าง ซ้าย ขวา เป็นต้น
คนที่มีทักษะด้านมิติสัมพันธ์ จะมีความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ที่ว่าง สถานที่และเวลา สามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ และสามารถวาดมโนภาพของความเชื่อมโยงให้เกิดขึ้นในใจ และถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นรับรู้เป็นรูปธรรม หรือมีความสามารถในการมองเห็นพื้นที่ มองสิ่งตางๆ ได้ในมิติที่หลากหลาย และรวดเร็ว
มิติสัมพันธ์ยังเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเราตั้งแต่ตื่นนอน เช่น ตื่นนอนเราต้องลงจากเตียงทางด้านซ้ายมือ เพราะด้านขวามือติดผนัง เดินออกไปทางด้านหน้าเพื่ออกทางประตู เปิดประตูเข้าห้องน้ำ หยิบแปรงสีฟันที่อยู่บนอ่างล้างหน้าของตัวเอง การแต่งตัว การใส่เสื้อผ้า เป็นต้น เหล่านี้ล้วนอาศัยความรู้ด้านมิติสัมพันธ์ทั้งสิ้น
มิติสัมพันธ์กับทักษะอื่นๆ
ลูกน้อยจะมีทักษะด้านมิติสัมพันธ์ดี ต้องอาศัยองประกอบจากทักษะด้านอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ การมองเห็น ความจำ การวิเคราะห์ การเคลื่อนไหว การกะระยะ
รวมถึงระบบต่างๆของร่างกายก็ต้องมีการทำงานที่พร้อมไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ และการทำงานของสายตาที่ประสานกัน เป็นต้น
ในวัย 1-3 ขวบของลูกนั้น ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กำลังก่อเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อลูกอายุ 4-5 ปี จึงจะเริ่มเข้าใจในมิติสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น เข้าใจว่า บนโต๊ะ ใต้โต๊ะ ด้านหน้า ด้านหลัง ซ้ายและขวาคืออะไร โดยจะเชี่ยวชาญมากขึ้น หรือมีทักษะมากขึนตามประสบการณ์ที่ได้รับจากการเลี้ยงดูและเติบโตไปตามวัย
มิติสัมพันธ์ ส่งเสริมได้ในชีวิตประจำวัน
ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเข้านอน คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมทักษะด้านมิติสัมพันธ์ให้ลูกได้ด้วยการให้ลูกได้ช่วยเหลือตนเองตามพัฒนาการที่เหมาะสมของวัย เช่น กินข้าว กินน้ำอาบน้ำ แต่งตัว เป็นต้น หรือสอดแทรกในกิจกรรมที่ลูกกำลังทำด้วยการพูดคุยกับลูก เช่น ในระหว่างที่ลูกกำลังกินอาหารก็ควรพูดกับลูกว่า
"พ่อวางแก้วน้ำไว้ด้านขวามือของหนู"
"หนูจับช้อนด้วยมือขวา จับช้อนด้วยมือซ้าย"
"ถ้าจะให้สะดวกเวลาดื่มน้ำ หนูลองเอื้อมมือขวามาหยิบแก้วน้ำที่อยู้ด้านขวามือสิจ๊ะ"
นอกจากจะเป็นการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเอง ฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝ฿กการทำงานที่ประสานกันระหว่างสายตาและมือ ยังเป็นการเรียนรู้ด้านมิติสัมพันธ์ไปด้วย
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถส่งเสริมด้วยการชี้ชวนให้ลูกสังเกตเห็นสิ่งที่อยู่รอบตัว เช่น ถ้าลูกสนใจ "รถ" ของคุณพ่อที่จอดอยู่หน้าบ้าน ให้ชวนลูกไปดูรถ โดยพูดดังนี้ค่ะ
"เราไปดูด้านหน้ารถกัน"
"ไหนลองไปดูด้านข้างสิ"
"ไปดูด้านหลังรถด้วย"
"ลองดูทะแยงสิ"
แบบนี้จะเป็นการพัฒนาสมองส่วนที่ควบคุมทางด้านมิติสัมพันธ์ และมิติการมองเห็นไปพร้อมๆกัน